This printed article is located at https://jckh-th.listedcompany.com/company_background.html

Company Background


บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลีตี้ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") (ชื่อเดิม: บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน)) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 เดิมชื่อบริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน)ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 16 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านอาหารประเภทสุกี้ชาบู โดยเริ่มจากร้านอาหารสุกี้ ชาบูตามสั่ง หรือแบบ A La Carte สาขาแรกในนามร้าน "โคคาเฟรช สุกี้" ที่ห้างตะวันออกคอมเพล็กซ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มครอบครัว ภายใต้พื้นที่บริหารจัดการประมาณ 300 ตารางเมตร ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นร้านสุกี้ร้านเดียวที่ขึ้นชื่อในจังหวัดฉะเชิงเทรา และต่อมาได้ขยายสาขาในห้างตามจังหวัดต่างๆ เช่น สระบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก เป็นต้น โดยรูปแบบการขยายสาขาในขณะนั้นดำเนินการโดยจัดตั้งบริษัทต่างๆเพื่อควบคุมร้านสาขาในแต่ละภูมิภาค

ปี 2544 บริษัทได้เปลี่ยนแบรนด์ร้านอาหารจาก "โคคาเฟรช สุกี้" มาเป็น "ฮอท พอท สุกี้ ชาบู เรสโตรองต์"

ปี 2547 ได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารการจัดการใหม่ โดยการก่อตั้งบริษัท ฮอท พอท จำกัด เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารงานและบริหารจัดการร้านสาขาทั้งหมด และในเดือนตุลาคม 2547 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 40 ล้านบาท เป็น 56 ล้านบาท เพื่อรับโอนสินทรัพย์ของสาขาต่างๆ จากกลุ่มบริษัทเดิมเข้าเป็นสินทรัพย์ของบริษัท

ปี 2548 บริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้วยการรุกตลาดร้านอาหารประเภทสุกี้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยการเปิดร้านบุฟเฟ่ต์อาหารนานาชาติที่เน้นอาหารประเภทสุกี้ ชาบูเป็นหลัก ที่สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 เป็นแห่งแรกในเดือนพฤษภาคม 2548 ในรูปแบบร้าน "ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์" ประกอบด้วยสุกี้ ชาบูและอาหารนานาชาติหลากหลายกว่า 100 รายการ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีผู้ประกอบการธุรกิจสุกี้ ชาบูรายใดดำเนินการ ส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทประสบความสำเร็จสามารถเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทได้อย่างดี ลูกค้าให้การยอมรับและรู้จักแบรนด์ ฮอท พอท มากขึ้น ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเปิดตัวในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ครั้งสำคัญบนแนวความคิดที่ว่า นอกจากอาหารที่อร่อยและการบริการที่ดีแล้ว ยังต้องมอบ "ความคุ้มค่า" ในการบริโภคให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โดยบริษัทได้ตัดสินใจขยายธุรกิจไปในแนว "บุฟเฟ่ต์" อิ่มได้ไม่อั้น All You Can Eat และได้ทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านอาหารจากร้านสุกี้ ชาบูตามสั่งหรือแบบ A La Carte มาเป็นแบบบุฟเฟ่ต์เกือบทั้งหมด ซึ่งหลังจากการปรับเปลี่ยนเป็นร้านบุฟเฟ่ต์อาหารนานาชาติที่มีความแตกต่างกับร้านสุกี้หลายราย ประกอบกับการมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพอาหารและการบริการรูปแบบร้าน และความหลากหลายของอาหารอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้บริษัทได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า

ปี 2549 กองทุนออรีออส เซาท์ อีสท์ เอเชีย ("กองทุนออรีออส") และกองทุนส่วนบุคคลของธนาคารออมสิน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด (ได้เปลี่ยนเป็นกองทุนส่วนบุคคลของธนาคารออมสินโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2554 เป็นต้นมา) ได้ตกลงเข้าร่วมทุนในบริษัท เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงิน

  • 2566
  • 2565
  • 2564
  • 2563
  • 2562
  • 2561
  • 2560
  • 2559
  • 2558
  • 2557
  • 2556
  • 2555
  • 2554
  • 2550
2550

เดือนกุมภาพันธ์ บริษัทได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานบนที่ดินเนื้อที่รวม 13-0-96 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 11/1 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นโรงงานผลิตอาหารและเป็นครัวกลาง ให้กับร้านสาขาทั้งหมดของบริษัท

2554

วันที่ 6 กรกฎาคม บริษัทจดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมทั้งลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 0.25 บาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 15,346,160 บาท จากทุนจดทะเบียนจำนวน 86,153,840 บาท เป็น 101,500,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 61,384,640 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม บริษัทได้เข้าซื้อและรับโอนกิจการร้านอาหารไดโดมอน ซึ่งเป็นร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น จากบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ("ไดโดมอน") รวมถึงการรับโอนสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานทั้งหมดและสินทรัพย์อื่นๆ เช่น สูตรอาหารและซอส ฐานลูกค้า สมาชิก คู่สัญญาทางธรุกิจ รวมทั้ง พนักงานของไดโดมอน ตลอดจนเครื่องหมายการค้า ชื่อ ทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหารและอาหาร ได้แก่ ไดโดมอน อูมามิ ยาสุกิ และมิตาเกะ เพื่อมาดำเนินการต่อภายใต้การบริหารและจัดการของบริษัท

2555

เดือนกันยายน บริษัทได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 61,384,640 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น ไปใช้ในการขยายสาขาใหม่และปรับปรุงสาขา รวมทั้งชำระคืนเงินกู้ยืมและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท โดยในครั้งนี้กองทุนออรีออสได้เสนอขายหุ้นสามัญเดิมของบริษัท จำนวน 40,600,260 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของทุนที่เรียกชำระแล้ว และบริษัทได้นำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555

2556

บริษัทได้ขยายสาขาเพิ่มเติม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีสาขาที่เปิดให้บริการเพิ่มเป็น 153 สาขา จากจำนวน 138 สาขาในปี 2555 โดยได้เปิดสาขาใหม่ จำนวน 27 สาขา เป็นสาขาภายใต้แบรนด์ "ฮอท พอท" จำนวน 23 สาขา และแบรนด์ "ไดโดมอน" 4 สาขา นอกจากนั้น บริษัทได้เริ่มกลยุทธ์ในการให้บริการแบบเพิ่มเตาปิ้งย่างในสาขาฮอท พอทบางสาขา (คิดค่าบริการเพิ่มสำหรับลูกค้าที่เพิ่มเตาปิ้งย่าง 30 บาทต่อคน) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีลูกค้ากว่า 70% รับประทานทั้งแบบหม้อต้ม และเตาปิ้งย่าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 บริษัทเปิดให้บริการสาขาฮอท พอทที่มีเตาปิ้งย่างเพิ่มเติมจำนวนทั้งหมด 14 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่เปิดใหม่ 9 สาขา และสาขาที่มาจากการปรับเปลี่ยนแบรนด์ 5 สาขา

สำหรับสาขาไดโดมอน ซึ่งซื้อมาจากบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทได้ทำการปรับปรุงสาขาที่ยังไม่ได้ปรับปรุงที่เหลืออยู่เกือบทั้งหมดจำนวน 10 สาขา จากจำนวนทั้งหมด 12 สาขา พร้อมทั้งได้เพิ่มบริการรูปแบบสุกี้ ชาบูในร้านไดโดมอนที่ปรับปรุงใหม่จำนวน 6 สาขา และอีก 4 สาขาได้มีการเปลี่ยนแบรนด์เป็นฮอท พอทที่เพิ่มปิ้งย่าง

2557

บริษัทได้เปิดสาขาใหม่จำนวน 18 สาขา แบ่งเป็น แบรนด์ ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ จำนวน 16 สาขา โดยจำนวน 15 สาขา เป็นสาขาที่เพิ่มปิ้งย่าง และแบรนด์ ฮอท พอท สุกี้ ชาบู ขนาดเล็ก จำนวน 2 สาขา ในขณะเดียวกัน บริษัทได้ปิดสาขาจำนวน 27 สาขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาขาที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน เพื่อให้ผลประกอบการในภาพรวมของบริษัทดีขึ้นในอนาคต ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 144 สาขา

บริษัทยังได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้มีความเหมาะสม โดยการปรับปรุงสาขาแบรนด์ ฮอท พอท บุฟเฟ่ต์ ให้ดูทันสมัย พร้อมทั้งเปลี่ยนแบรนด์เป็น ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ ทั้งหมด พร้อมทั้งได้ปรับปรุงร้านสาขาแบรนด์ ฮอท พอท ราเมน บุฟเฟ่ต์ ซึ่งมีอยู่เพียงสาขาเดียวที่เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 ให้เป็นแบรนด์ใหม่ที่บริษัทสร้างขึ้นมาเอง คือ ซิกเนเจอร์ โดยได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2557

นอกจากนั้น บริษัทได้เพิ่มช่องทางการวางจำหน่ายน้ำจิ้มสุกี้ในห้างเทสโก้ โลตัส โดยได้เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมา

2558

บริษัทมีแผนขยายสาขาด้วยความระมัดระวัง โดยเลือกเฉพาะสาขาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยได้เปิดสาขาทั้งหมดจำนวน 11 สาขา ซึ่ง 1 สาขา คือ สตาร์พลาซ่า จังหวัดสระแก้ว ทางศูนย์การค้าเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด สำหรับร้านสาขาที่เปิดใหม่แบ่งเป็นแบรนด์ ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ จำนวน 5 สาขา (3 สาขาเป็นสาขาที่ให้บริการทั้งแบบต้มและเพิ่มปิ้งย่าง) และแบรนด์ซิกเนเจอร์ จำนวน 6 สาขา ซึ่ง 4 สาขาเป็นสาขาเปิดใหม่ และอีก 2 สาขาเป็นสาขาของร้านฮอท พอท ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงได้มีแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ร้าน คือ ร้านฮอท พอท และร้านซิกเนเจอร์

บริษัทได้ปิดสาขาจำนวน 12 สาขา โดยเป็นสาขาที่มีผลประกอบการขาดทุน จำนวน 10 สาขา และสาขาที่ครบกำหนดสัญญา แต่บริษัทไม่ประสงค์จะต่อสัญญา จำนวน 2 สาขา ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 143 สาขา

2559

บริษัทยังคงมีความระมัดระวังในการเปิดสาขาใหม่ โดยพิจารณาถึงศักยภาพของศูนย์การค้าเป็นสำคัญ รวมถึงลดขนาดของเงินลงทุนลง มีการนำเอาทรัพย์สินของร้านสาขาที่ปิดแล้วกลับมาใช้ และมีบางสาขาที่ศูนย์การค้าลงทุนให้บางส่วน โดยบริษัทได้เปิดสาขาทั้งหมดจำนวน 8 สาขา แบ่งเป็นแบรนด์ ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ จำนวน 2 สาขา (1 สาขาเป็นสาขาที่ให้บริการทั้งแบบต้มและเพิ่มปิ้งย่าง) แบรนด์ซิกเนเจอร์ จำนวน 5 สาขา และแบรนด์ไดโดมอน 1 สาขา มีการปรับเปลี่ยนแบรนด์ร้านสาขาจำนวน 7 สาขา โดยปรับเปลี่ยนจากแบรนด์ ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ เป็นซิกเนเจอร์ 4 สาขา ฮอท พอท สุกี้ชาบู 1 สาขา ไดโดมอน 1 สาขา และพอทจัง 1 สาขา ในขณะเดียวกันบริษัทได้ปิดสาขาจำนวน 10 สาขา ประกอบด้วยสาขาที่มีผลประกอบการขาดทุน จำนวน 7 สาขา ศูนย์การค้าเรียกคืนพื้นที่ จำนวน 2 สาขา และศูนย์การค้าปิดดำเนินเพื่อปรับปรุงพื้นที่ 1 สาขา ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 141 สาขา

บริษัทยังได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยการขายแฟรนไชส์แบรนด์ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์ ให้แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559 (ปัจจุบันได้ปิดการขายแล้ว) นอกจากนั้น บริษัทได้เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายน้ำจิ้มสุกี้ไปยังเทสโก้ โลตัส เอ็กเพรส อีกกว่า 600 สาขา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นไป (ปัจจุบันได้ปิดการขายแล้ว)

บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นโดยในปี 2559 นายอภิชัย เตชะอุบล ได้เข้ามาถือหุ้น จำนวน 65,900,000 หุ้น (ร้อยละ 16.23 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด) และบริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิม บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) จำนวน 9,100,000 หุ้น (ร้อยละ 2.24 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด)

2560

ปี 2560 ทางบริษัทได้เล็งเห็นโอกาสในการจะขยายแบรนด์ร้านอาหารเพิ่มเติมนอกเหนือจากแบรนด์ที่เป็นร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความหลากหลาย ความแตกต่าง ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเป็นการเจาะช่องว่างในตลาดกลุ่มบน ทางบริษัทได้มีการเปิดตัว "ทูมาโท้ อิตาเลี่ยน คิทเช่น" ร้านอาหารอิตาเลี่ยน รสชาติต้นตำรับ ที่เน้นการคัดสรรวัตถุดิบนำเข้าเกรดพรีเมี่ยม ที่ส่งตรงจากเมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ชั้น G เอ็มบีเค เซ็นเตอร์

อย่างไรก็ตามบริษัทได้มีนโยบายปิดสาขาที่มีผลประกอบการขาดทุน จำนวน 36 สาขา ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 106 สาขา

นอกจากนี้ บริษัทได้ย้ายสำนักงานใหญ่ จากเดิมเลขที่ 350 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230 โทรศัพท์: 0-2943-8448 แฟกซ์: 0-2943-8458 มายัง เลขที่ 18 ซอยสาทร 11 แยก 9 อาคารทีเอฟดี แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์: 0-2286-9959 แฟกซ์: 0-2286-9960 บริษัทได้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 40,600,000 หุ้น เสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (RO) และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 40,600,000 หุ้น เสนอขายให้กับบุคคลในวงจำกัด ทำให้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2560 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 121,800,000 บาท และทุนชำระแล้ว 121,800,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 487,200,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

2561

ปี 2561 บริษัทได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 73,080,000 บาท จากทุนจดทะเบียน 121,800,000 บาท เป็น 198,880,000 บาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 292,320,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท บริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 779,520,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท โดยได้จัดสรรหุ้นสามัญแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน (Specific Objective) จำนวน 243,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ในอัตราส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.30 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน 138,077,672 หุ้น ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.30 บาท เป็นจำนวนเงิน 179,500,974 บาท ทำให้บริษัทมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 625,277,672 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 156,319,418 บาท บริษัทจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 นอกจากนี้ยังจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 48,720,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25บาท โดยเสนอขายให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งบริษัทยังไม่ได้ดำเนินการจัดสรรให้บุคคลในวงจำกัดดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 194,880,000 บาท และทุนชำระแล้ว 156,319,418 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 779,520,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อ และชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัท จากเดิม บริษัท ฮฮท พอท จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท เจซี เค ฮอลพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 และชื่อย่อหลักทรัพย์ จากเดิม HOTPOT เป็น JCKH มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2561

นอกจากนี้ บริษัทได้ทำการปิดสาขาจำนวน 14 สาขาอันเนื่องมาจากผลขาดทุนจากการประกอบการ ซึ่งรวมถึงร้านซุปเปอร์ พอทด้วยและบริษัทได้ทำการเปิดแบรนด์ใหม่ของร้าน "เจิ้งโต่ว" จำนวน 3 สาขา และได้เปิดร้าน "เจิ้งโต่วแกรนด์" 1 สาขา ร้าน"เจิ้งโต่ว เอ็กซ์เพรส" 3 สาขา และร้าน "บอนไซ" 1 สาขา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 94 สาขา

2562

ปี 2562 บริษัทยังคงมีแผนขยายสาขาด้วยความระมัดระวัง พร้อมกับพิจารณาปิดสาขาที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร การมุ่งเน้นการเจรจาต่อรองค่าเช่าพื้นที่ และค่าบริการกับผู้ให้เช่า รวมถึงการพิจารณาเปิดร้านอาหารแบรนด์ใหม่ในทำเลที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่นการขยายสาขาแบรนด์ "เจิ้งโต่ว" ไปที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลดิ์ และการเปิดร้านอาหารแบรนด์ใหม่สไตล์อาหารญี่ปุ่น "บอนไซ" ที่ถนนหลังสวน

หลังนำส่งงบการเงินไตรมาส 2 หลักทรัพย์ของบริษัท ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) เนื่องจากผลประกอบการของบริษัท มีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว โดยพิจารณาจากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชี ที่ไม่มีการปรับปรุงรายการ บริษัทจึงต้องจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงแนวทางแก้ไขเหตุที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C ต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) โดยในแนวทางการแก้ไขเหตุดังกล่าว บริษัทมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มขึ้นของรายได้ปี ด้วยการเร่งรัดงานขายและงานการตลาดให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ การเร่งหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพื่อเป็นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ในส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น บริษัทได้เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารต้นทุนและการควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารสาขาต่างๆ เพื่อทำให้ต้นทุนในแต่ละสาขาลดลง

ในปี 2562 บริษัทปิดสาขา จำนวน 14 สาขา เนื่องจากการมีผลประกอบการที่ขาดทุนสะสมและต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัท ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2563

ปี 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2563 วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ได้มีการอนุมัติให้บริษัทจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right offering) ในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1หุ้นใหม่ เป็นจะนวน 125,769,436.90 บาท หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.35 บาท โดยเสนอขายหุ้นในระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2563 รวมจำนวนเงิน 43,769,436.90 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ครั้งที่ 5/2563 ได้มีมติอนุมัติ การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวลจำกัด (Private Placement) จำนวน 21,000,000 หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นเงิน 10,500,000 บาท โดยเสนอขายหุ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2563 และ วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2563 ได้มีมติอนุมัติ การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวน 41,527,766 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.28 บาท รวมเป็นเงิน 11,627,774.48 บาท โดยเสนอขายหุ้นในวันที่ 23-24 ธันวาคม 2563 ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 203,215,243 บาท และทุนชำระแล้ว 203,215,243 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 812,860,972 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

บริษัทดำเนินการขบยายสาขาแบรนด์ เจิ้งโต่ว เอ็กซ์เพรส จำนวน 3 สาขา ซึ่งบริษัทมีการพิจารณาพื้นที่ขยายสาขาในบริเวณที่มีปริมาณผู้ซื้อสูง ตอบสอนองให้กับชีวิตที่เร่งรีบ โดยได้เปิดตามแนวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน คือสถานีพระรามเก้า สถานีสวนจตุจักร และสถานีสุขุมวิท แต่เมื่อมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ บริษัทต่างๆ มีนโยบายให้พนักงานปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) ทำให้ผู้คนที่จะต้องเดินทางด้วยสถานีรถไฟฟ้าลดลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดขายไม่เป็นไปตามที่บริษัทตั้งเป้าไว้ บริษัทได้มีการพิจารณาถึงยอดขายและต้นทุนที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทต้องปิดสาขา เจิ้งโต่ว เอ็กซ์เพรส จำนวน 3 สาขา ในปีเดียวกัน ต่อมามีการเล็งเห็นโอกาสในการขยายสาขาให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีกลยุทธ์ในการควบคุมค่าใช้จ่าย จึงได้สำรวจพื้นที่และเลือกทำเลการเปิดสาขานอกศูนย์การค้า เพื่อลดต้นทุนค่าเช่า โดยในเดือน ธันวาคม 2563 มีการเปิดสาขาใหม่ จำนวน 1 สาขา ที่โซนนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ภายใต้แบรนด์ ฮอท พอท อินเตอร์บุฟเฟ่ต์

จากสถานการณ์การแพร่ราดของเชื้อไวรสโควิด-19, สถานการณ์ทางการเมือง และสภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ส่งผลให้มนปี 2563 บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น น้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว บริษัทถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) ซึ่งบริษัทมีการการดำเนินการจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงแนวทางแก้ไขเหตุที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C ต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) โดยแนวทางการแก้ไขเหตุดังกล่าว บริษัทมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มขึ้นของรายได้ ด้วยการพัฒนาคุณภาพอาหาร การบริการ ความสะอาดภายในร้าน และเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วยการเพิ่ม Set A la carte จัดโปรโมชั่นรายการส่งเสริมการขายให้เข้ากับเทศกาล และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้อื่นของบริษัท ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นรายได้ บริษัทยังมีการบริหารการลดต้นทุนอาหารและนโยบายการประโครงสร้างการบริหารในอัตรากำลังที่เหมาะสม โดยไม่กระทบต่อมาตรฐานอาหารและความพึงพอใจของลูกค้า อีกทั้งมีการปรับกลยุทธ์ของการขายสาขานอกห้างสรรพสินค้าเพื่อลดต้นทุนค่าเช่า นำไปสู่การปรับราคาขายเพื่อขยายฐานลูกค้าให้สมารถเข้าถึงร้านอาหารได้มากขึ้น

บริษัทมีนโยบายการปิดสาขาที่มีผลประกอบการขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 บริษัทดำเนินการปิดสาขาจำนวน 15 สาขา ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีสาขาที่เปิดให้บริการทั้งหมด 82 สาขา

2564

ปี 2564 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2564 วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากจำนวน 402,215,090.75 บาท เป็น 357,522,042.25 บาท โดยการยกเลิกหุ้นสามัญที่ยังไม่ใด้จำหน่ายจำนวน 178,772,194 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท ซึ่งเป็นหุ้นที่ออกสำหรับรองรับการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ที่ยังไม่ได้จำหน่าย โดยบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,930,088,169 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

นอกจากนี้ ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2564 วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ยังได้มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวนจำนวน 179,926,382.75 บาท จากเดิม 357,522,042.25 บาท เป็น 537,448,425.- บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 719,705,531 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 238,998,732 หุ้น และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 119,499,366 หุ้น และเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Advance Opportunities Fund (“AO Fund”) และ Advance Opportunities Fund 1 (“AO Fund 1”) ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดย AO Fund และ AO Fund 1 ไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับบริษัท จำนวน 361,207,433 หุ้น โดยมีรายละเอียดการจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ดังนี้

       - ในระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ของบริษัทจำนวน 5 ครั้ง (ครั้งที่ 6/2564 - ครั้งที่ 10/2564) รวมจำนวนหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขาย 75,000 หน่วย

       - ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญจำนวน 45,000 หน่วย หุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพ 122,369,056 หุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 537,448,425.- บาท และทุนชำระแล้ว 329,340,679.75 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 1,317,362,719 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

นอกจากนั้นในปี 2564 เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการหารายได้ในอนาคต ขยายฐานลูกค้า บริษัทได้ลงทุนในธุรกิจโรงแรมที่จังหวัดเชียงราย โดยการซื้อหุ้นสามัญร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ 1. บริษัท ซีพีที โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด ทุนชำระแล้ว 120,000,000 บาท สัดส่วนเงินลงทุนร้อยละ 100 2. บริษัท เอเอสฟี โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท สัดส่วนเงินลงทุนร้อยละ 100 ดังนั้นในปี 2564 บริษัทจึงมีการจัดทำงบการเงินรวมขึ้นเป็นครั้งแรก

สำหรับงบการเงินของบริษัทไตรมาสที่ 1/2564 และไตรมาสที่ 2/2564 บริษัทยังคงมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพรระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ตลอดทั้งปี ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว บริษัทถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) ซึ่งบริษัทมีการดำเนินการจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงแนวทางแก้ไขเหตุที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C ต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) โดยแนวทางการแก้ไขเหตุดังกล่าว บริษัทมุ่งเน้นเรื่องการขยายสาขาที่มีศักยภาพ โดยเปลี่ยนบางสาขาให้เป็นแบรนด์ DAIDOMON มุ่งเน้นการคัดสรวัตถุดิบ และคุณภาพของอาหาร รวมถึงการบริการภายในร้าน ให้มีมาตรฐาน ขยายการลงทุนไปยังโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของบริษัท หาพันธมิตรทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับร่วมลงทุน รวมถึงจัดรายการส่งเสริมการการเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับงบการเงินของบริษัทไตรมาสที่ 3/2564 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ปลดเครื่องหมาย C (Caution) เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทเกินกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว ซึ่งเกิดจากบริษัทได้มีการลงทุนในธุรกิจอื่นโดยการซื้อหุ้นสามัญร้อยละ 100 ของบริษัท 2 แห่ง ทำให้ทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว เป็นบริษัทย่อยของบริษัท และบริษัทมีการรับรู้มูลค่าที่ดินและอาคารด้วยมูลค่ายุติธรรมตามประเมินราคาที่ดินและอาคารของผู้ประเมินราคาอิสระ บริษัทจึงมีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์รับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจำนวน 122 ล้านบาท (สุทธิจากภาษีเงินได้)

ในปี 2564 บริษัทมีนโยบายการปรับภาพลักษณ์ร้านไดโดมอนให้เป็นสไตล์เกาหลี เปลี่ยนโลโก้ รูปแบบร้านให้ดูทันสมัย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ที่ต้องการบรรยากาศร้านให้ลูกค้ารู้สึกถึงความสนุกสนานในกิจกรรมการปิ้งย่าง ควบคู่ไปกับรสชาติของอาหารที่อร่อย โดยมีสาขาฟิวเจอร์พาร์ครังสิตเป็นสาขาแรกที่บริษัทได้ทำการปรับภาพลักษณ์ตามนโยบายของบริษัท

สำหรับร้านฮอทพอท บริษัทยังมีการปรับภาพลักษณ์ของร้านฮอทพอท ให้ดูอบอุ่น ทันสมัย เหมาะกับลูกค้าที่ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงน มีการเปลี่ยนโลโก้ เปลี่ยนลักษณะการบริการเป็นบุเฟ่ต์แบบจัดเสิร์ฟ เน้นวัตถุดิบเนื้อสัตว์พรีเมี่ยม โดยมีสาขาเซ็นทรัลระยองเป็นสาขาแรกที่บริษัทได้ทำการปรับโฉม

2565

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ได้มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียนของบริษัท เป็น 447,823,900.50 บาท โดยการยกเลิกหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่ายจำนวน โดยได้มีมติอนุมัติการออกและเสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ ครั้งที่ 2 ของบริษัท (“หุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2”) มีมูลค่าการออกเสนอขายรวมไม่เกิน 500,000,000 บาท ให้แก่ ผู้ลงทุน โดยเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Advance Opportunities Fund (“AO Fund”) และ Advance Opportunities Fund 1 (“AO Fund 1”) โดย AO Fund และ AO Fund 1 ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับบริษัท และได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 253,666,370 บาท จากเดิม 447,823,900.50 บาท เป็น 701,490,270.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 1,014,665,480 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท แบ่งออกเป็น

  1. (1) จำนวนไม่เกิน 311,946,746 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 20.00 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการ บริษัท ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)

  2. (2) จำนวนไม่เกิน 155,973,373 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10.00 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 เพื่อเสนอขายในคราวเดียวหรือแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อเสนอขายเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)

  3. (3) จำนวนไม่เกิน 546,745,361 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 35.05 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Advance Opportunities Fund (“AO Fund”) และ Advance Opportunities Fund 1 (“AO Fund 1”) ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัท โดยมีรายละเอียดการจัดสรร ดังนี้

    1. (ก) จำนวนไม่เกิน 280,000,000 หุ้น เป็นการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 (“หุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1”) (จัดสรรเพิ่มเติมจากที่ได้จัดสรรไว้)

    2. (ข) จำนวนไม่เกิน 266,745,361 หุ้น เป็นการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 (“หุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2”)

ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากจำนวน 701,490,270.50 บาท เป็น 584,510,240.75 บาท โดยการยกเลิกหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่าย และได้มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 240,538,240.75 บาท จากเดิม 584,510,240.75 บาท เป็น 825,048,481.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 962,152,963 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) และเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. (1) จำนวนไม่เกิน 397,272,909 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)

  2. (2) จำนวนไม่เกิน 198,636,454 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 เพื่อเสนอขายในคราวเดียวหรือแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อเสนอขายเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)

  3. (3) จำนวนไม่เกิน 366,243,600 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 18.44 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ณ วันประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Advance Opportunities Fund (“AO Fund”) และ Advance Opportunities Fund 1 (“AO Fund 1”) ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทโดยมีรายละเอียดการจัดสรร ดังนี้

    1. (ก) จำนวนไม่เกิน 143,239,232 หุ้น เป็นการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 (“หุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1”) (จัดสรรเพิ่มเติมจากที่ได้จัดสรรไว้)

    2. (ข) จำนวนไม่เกิน 223,004,368 หุ้น เป็นการจัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 (“หุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2”)

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2565 ประชุมวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติการจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 198,347,107 หุ้น ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement : “PP”) จำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกับบริษัท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.121 บาทต่อหุ้น โดยมีกำหนดระยะเวลาจองซื้อและชำระเงินค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุน วันที่ 15 ธันวาคม 2565 โดยบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้ว สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ที่จัดสรรและเสนอขายให้แก่ PP ดังกล่าว กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565

ปี 2565 บริษัทมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1 รวม 8 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2565 - ครั้งที่ 8/2565) วงเงินที่ออกและเสนอขายจำนวน 125,000,000 บาท เมื่อรวมกับที่บริษัทได้มีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1 ในปี 2564 จำนวน 10 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2564 - ครั้งที่ 10/2564) วงเงินที่ออกและเสนอขายจำนวน 175,000,000 บาท รวมวงเงินที่บริษัทมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1 ทั้งสิ้นจำนวน 300,000,000 บาท ครบตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 นอกจากนี้ บริษัทมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 2 รวม 8 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2565 – ครั้งที่ 8/2565) วงเงินที่ออกและเสนอขายจำนวน 85,000,000 บาท คงเหลือวงเงินที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 2 อีกจำนวน 415,000,000 บาท โดยในระหว่างปี 2565 ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ AO Fund และ AO Fund 1 ได้แจ้งแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 564,854,600 หุ้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทคงเหลือหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 จำนวน 109,002,269 หุ้น และในระหว่างปี 2565 ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ AO Fund และ AO Fund 1 ได้แจ้งแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 266,668,323 หุ้น บริษัทคงเหลือหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 จำนวน 223,081,406 หุ้น

สำหรับปี 2565 ไม่มีผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 (JCKH-W1) รายใดมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัท ทำให้บริษัทคงเหลือใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W1 จำนวน 223,315,144 หน่วย และหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W1 จำนวน 223,315,144 หุ้น (ทั้งนี้ บริษัทมีจำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิคงเหลือที่ไม่ได้จัดสรรจำนวน 102 หน่วย และหุ้นสามัญเพิ่มทุนคงเหลือที่ไม่ได้จัดสรรจำนวน 102 หุ้น ซึ่งบริษัทบริษัทจะดำเนินการยกเลิกต่อไป)

ในระหว่างปี 2565 บริษัทได้จัดประชุมเพื่อรายงานแนวทางในการแก้ไขเหตุให้ข้อมูลกับนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) ต่อเหตุการณ์ที่หลักทรัพย์ของบริษัทถูกขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) เนื่องจากบริษัทยังคงมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้ว จำนวน 4 ครั้ง สำหรับงบการเงินประจำปี 2564 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564, งบการเงินงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565, งบการเงินงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และงบการเงินงวดเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 ภาพรวมบริษัทมีแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น โดยปรับภาพลักษณ์ร้านไดโดมอน และร้านฮอทพอท ให้ทันสมัย เหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขยายสาขาของร้าน SHABU TOMO และการเพิ่มยอดขายจากแบรนด์ Burger & Lobster รวมถึงบริหารจัดการงบประมาณค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม โดยการบริหารและควบคุมต้นทุนค่าอาหาร ปรับโครงสร้างระบบการทำงานภายในร้านสาขา และบริหารจัดการค่าเช่า โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านการบริการเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขาย นอกจากนั้น บริษัทมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าอาหารแช่แข็ง เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการลงทุนในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยว เป็นการขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 825,048,481.50 บาท และทุนชำระแล้ว 582,497,842.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 2,329,991,370 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

การดำเนินการประกอบธุรกิจร้านอาหาร

  • ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วันที่ 23 มิถุนายน 2565 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อสิทธิในการประกอบธุรกิจร้านอาหารภายใต้ชื่อทางการค้า “Burger & Lobster” กับ บริษัท ล็อบสเตอร์ เพาเวอร์ จำกัด (“LP”) โดยมีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 6.57 ล้านบาท

  • ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วันที่ 23 มิถุนายน 2565 อนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนโดยการซื้อทรัพย์สินจาก บริษัท อินดี้อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“INDY”) ประกอบด้วย เครื่องหมายการค้าภายใต้แบรนด์ “ชาบูอินดี้”, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ทรัพย์สินถาวรอื่นๆ และตู้แช่สินค้า รวมถึงการรับโอนสิทธิในการประกอบธุรกิจภายใต้แบรนด์ “ชาบูอินดี้” ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 มีมติอนุมัติยกเลิกการเข้าลงทุนใน INDY เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากคู่สัญญาไม่สามารถตกลงเงื่อนไขทางการค้าได้ และเงินมัดจำ 1 ล้านบาทได้ถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งจำนวนในงบกำไรเบ็ดเสร็จปี 2565 แล้ว

  • บริษัทได้เปิดสาขาของร้านชาบู โทโมะ จำนวน 2 สาขา ที่เซ็นทรัลเวิลด์ และ เมกะ บางนา และ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 บริษัทยังได้เปิดร้าน Burger & Lobster ที่สยามพารากอน จำนวน 1 สาขา อีกทั้งได้มีการปิดสาขา HOT POT จำนวน 26 สาขา สำหรับร้าน ฮอทพอท และ ไดโดมอน ที่มีศักยภาพ บริษัทยังคงมีการปรับภาพลักษณ์ของร้าน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดูทันสมัยและเข้าถึงง่าย

2566

ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน และการออกเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 2 (“ใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W2”) ของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. (1) อนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวนไม่เกิน 1,617,531,400 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท ในลักษณะการเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ได้แก่ บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (“JCKD”) (“หุ้นเพิ่มทุน PP”) ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.17 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 274,980,338 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนบางส่วนสำหรับการได้มาซึ่งที่ดินและอาคารสำนักงาน ได้แก่ 1) ที่ดินจำนวน 1 แปลง เนื้อที่ดิน 2 งาน 87.7 ตารางวา หรือเท่ากับ 287.7 ตารางวา มูลค่า 163.02 ล้านบาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารสำนักงานสูง 6 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน 1 ชั้น และดาดฟ้า จำนวน 1 อาคาร พื้นที่ ใช้สอยรวม 5,206 ตารางเมตร มูลค่า 80.00 ล้านบาท รวมมูลค่า 243.02 ล้านบาท และ 2) ที่ดินว่างเปล่าจำนวน 1 แปลง เนื้อที่ดิน 3 งาน 65.3 ตารางวา หรือเท่ากับ 365.3 ตารางวา มูลค่า 206.98 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ ซอยสาทร 11 แยก 9 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 450,000,000 บาท (“ที่ดินและอาคารสำนักงาน”) โดยบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้ว สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ที่จัดสรรและเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ดังกล่าว กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566

  2. (2) อนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวนไม่เกิน 12,843,894,555 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 0.25 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ในอัตราส่วนการจัดสรร 1 หุ้นสามัญเดิม ต่อไม่เกิน 3 หุ้นสามัญเพิ่มทุน กรณีที่มีเศษของหุ้นที่เกิดจากการคำนวณให้ปัดเศษของหุ้นนั้นทิ้งในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.03 บาท คิดเป็นมูลค่าการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 385,316,836.65 บาท บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัทได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในระหว่างวันที่ 24 – 30 ตุลาคม 2566 จำนวน 2,963,475,936 หุ้น ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.03 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 88,904,278.08 บาท โดยบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้ว สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ที่จัดสรรและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ดังกล่าว กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

  3. (3) อนุมัติการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 2 (JCKH-W2) จำนวนไม่เกิน 4,281,298,185 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จองซื้อและได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) โดยไม่คิดมูลค่า (ศูนย์บาท) (Sweetener) ในอัตราจัดสรรไม่เกิน 3 หุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ (หากเกิดเศษจากการคำนวนตามอัตราการจัดสรรให้ปัดเศษนั้นทิ้ง) โดยใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ มีอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น และกำหนดราคาการใช้สิทธิเท่ากับ 0.03 บาท ต่อหุ้น (ยกเว้นกรณีมีการปรับราคาใช้สิทธิ)

ปี 2566 ไม่มีผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 (JCKH-W1) รายใดมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัท ทำให้บริษัทคงเหลือใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W1 จำนวน 992,859,131 หน่วย และหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W1 จำนวน 992,859,131 หน่วย

ปี 2566 มีผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 2 (JCKH-W2) มาใช้สิทธิแปลงสภาพ JCKH-W2 จำนวน 333 หน่วย เป็นหุ้นสามัญ 333 หุ้น ทำให้บริษัทคงเหลือใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W2 จำนวน 3,293,472,598 หน่วย และหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิ JCKH-W2 จำนวน 3,293,472,598 หุ้น

ปี 2566 บริษัทมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1 รวม 4 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2566 – ครั้งที่ 4/2566) วงเงินที่ออกและเสนอขายจำนวน 14,000,000 บาท นอกจากนี้ บริษัทมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 2 รวม 4 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2566 – ครั้งที่ 4/2566) วงเงินที่ออกและเสนอขายจำนวน 50,000,000 บาท คงเหลือวงเงินที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 2 อีกจำนวน 5,000,000 บาท

โดยในระหว่างปี 2566 ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ AO Fund และ AO Fund 1 ได้แจ้งแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 120,100,204 หุ้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทคงเหลือหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 จำนวน 6,143,444 หุ้น และในระหว่างปี 2566 ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ AO Fund และ AO Fund 1 ได้แจ้งแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 579,021,294 หุ้น บริษัทคงเหลือหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 จำนวน 285,568,551 หุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 5,764,102,033.50 บาท และทุนชำระแล้ว 1,902,530,051 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ จำนวน 7,610,120,204 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท

ปี 2566 บริษัทได้จัดประชุมเพื่อรายงานแนวทางในการแก้ไขเหตุให้ข้อมูลกับนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) ต่อเหตุการณ์ที่หลักทรัพย์ของบริษัทถูกขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) เนื่องจากบริษัทยังคงมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้ว จำนวน 4 ครั้ง สำหรับงบการเงินประจำปี 2565 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565, งบการเงินงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566, งบการเงินงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และงบการเงินงวดเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ภาพรวมบริษัทมีแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น โดยปิดสาขาที่ไม่ประสบปัญหาขาดทุน ปรับภาพลักษณ์สาขาให้ทันสมัยเหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขยายสาขาภายใต้แบรนด์ใหม่ทั้ง ชาบู โทโมะ และ อั่ย หั่ว กัว โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย ควบคุมต้นทุนค่าอาหาร ปรับโครงสร้างระบบการทำงานภายในร้านสาขา และบริหารจัดการค่าเช่า โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านการบริการเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขาย

บริษัทได้ขยายสาขาร้านชาบู โทโมะ เป็น 5 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ เมกาบางนา เซ็นทรัลพล่าซ่าเวสต์เกต เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และ เดอะมอลล์บางแค

บริษัทได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “Ai Huo Guo” (อั่ย หั่ว กัว) ชาบูหม่าล่าระดับพรีเมี่ยม อาหารหลากหลายเสิร์ฟบนสายพานลำเลียง ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และบิ๊กซีราชดำริ

ปี 2566 บริษัทเริ่มดำเนินการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นนอกจากธุรกิจร้านอาหาร โดยบริษัทได้เข้าลงทุนและรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารสำนักงานในเขตใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครได้สำเร็จ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของบริษัท ลดภาระค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่และยังสามารถเพิ่มรายได้ที่สม่ำเสมอจากพื้นที่ให้เช่าส่วนที่เหลือได้ทันที เพิ่มเสถียรภาพทางการเงินและเป็นสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัทในระยะยาว อีกทั้งยังมีโอกาสสำหรับการพัฒนาอาคารใหม่เพิ่มเติมจากที่ดินว่างเปล่า ที่ติดกันในอนาคตอีกด้วย

(1)ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ไดโดมอนได้เปลี่ยนชื่อเป็น"บริษัท วีรีเทลจำกัด (มหาชน)"

(2)บริษัทได้ทยอยปิดสาขาของไดโดมอนในแบรนด์อูมามิ ยาสุกิ และมิตาเกะหรือเปลี่ยนบางสาขามาเป็นแบรนด์ไดโดมอน ตามความเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้แบรนด์อูมามิ ยาสุกิ และมิตาเกะสำหรับสาขาร้านอาหารของบริษัทแล้ว


Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.